พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
หลวงปู่เขียว วั...
หลวงปู่เขียว วัดศรีบุญเรือง
หากเอ่ยถึงผ้าไหมมัดหมี่อันโด่งดัง ต้องนึกถึงอำเภอชนบท หากเอ่ยถึงเกจิดังในอำเภอชนบท ต้องนึกถึงหลวงปู่เขียว วัดศรีบุญเรือง…. วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง อ.ชนบท เป็นวัดเก่าแก่ ถือเป็นเมืองเก่าของจังหวัดขอนแก่น ถ้าอ่านตามประวัติ เจ้าเมืองขอนแก่นส่งส่วยให้เมืองชนบท และชนบทส่งต่อให้โคราชอีกที….ชนบทเป็นเมืองเก่าที่มีโบราณวัตถุเก่าแก่ ตลอดจนเหรียญยอดนิยมอันดับหนึ่งแห่งเมืองขอนแก่น ก็จัดสร้างที่อำเภอชนบทแห่งนี้ และเป็นแหล่งสร้างวัตถุมงคลหลายรุ่นครับที่ได้รับความนิยมจวบจนถึงปัจจุบัน….วันเวลาล่วงเลยผ่านไป ถนนมิตรภาพตัดผ่าน อ.บ้านไผ่ ทางรถไฟต่าง ๆ เมืองชนบทเลยเป็นเมืองตกอับตามเส้นทางคมนาคม ตามยุคสมัย....

..... เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ.... หลายท่านสงสัยว่าหลวงปู่เขียวพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นใคร ? ...

..... ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์และอาจารย์ของพระเกจิอาจารย์หลายรูปและอยู่เบื้องหลังของพระเกจิจารเก่ง ๆหลายท่านครับ อาทิ เช่น หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ แห่งวัดป่าคุ้มจัดสรร อ.บ้านไผ่ , พระครูโอภาสสมณกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมวิเวก อ.ชนบท (ผู้ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อผาง คงเค คอติ่ง รุ่นแรก อันโด่งดัง) , หลวงปู่ชม ปภัสโร อ.โนนศิลา , หลวงปู่บุญมา วัดป่าภูหันบรรพต , หลวงปู่แสวง วัดป่าชัยวารินทร์ อ.บ้านไผ่ , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย วัดบ้านขุมดิน , พระครูนิวิฐสมณวัตร (หลวงพ่อนงค์ )เจ้าอาวาสวัดอุดมคงคาคีรีเขต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน, พระอธิการวีระสังจิตโต (หลวงตาหลี) วัดป่าหนองไผ่เทพนิมิต บ้านท่าสวรรค์ ฯลฯ ....ที่กล่าวมาล้วนแต่อุปัชฌาย์กับหลวงปู่เขียวทั้งสิ้น …

….สำหรับ หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต(ดูน) สมัยก่อนหลวงพ่อผางท่านธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านแท่นบรรลังทิพย์ เดินทางผ่านในตัว อ.ชนบท เข้ามากราบหลวงปู่เขียวบ่อยครั้ง จนชาวชนบทหลายท่านเข้าใจผิดว่าหลวงปู่เขียวก็เป็นพระองค์อุปัชฌาย์ให้กับหลวงปู่ผางด้วย….อันที่จริงแล้วไม่ใช่ครับ (ข้อมูลนี้ผมสอบถามจาก”ลุงเปี๊ยก” ขออนุญาตที่เอ่ยนาม ซึ่งท่านเป็นศิษย์ผู้รับใช้หลวงปู่มาตั้งแต่เด็กจนโตและอีกท่าน”อาจารย์ ถวิล ” ขออนุญาตที่เอ่ยนาม บ้านอยู่ติดวัดท่านเกิดและโตที่นี่และสมัยนั้นท่านก็โดนหลวงปู่เขียวอบรมสั่งสอนอยู่เป็นประจำ ปัจจุบันทั้งสองท่านยังมีชีวิตอยู่ครับ)….หลวงปู่ผางนับถือหลวงปู่เขียวด้วยเป็นพระในปกครองและอายุพรรษาที่คงการนาน(คงแก่เรียน)และถือเป็นครูบาอาจารย์ เดินทางไปมาหาสู่บ่อยครั้งและหลวงปู่เขียวก็เอ็นดูหลวงปู่ผางเป็นพิเศษ….มีครั้งหนึ่งคณะจาก อ.ชนบทได้ขับรถพาหลวงปู่เขียวไปเยี่ยมงานสงค์ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) พอไปถึงหลวงปู่ผางนั่งอยู่บนอาสนะและได้ลุกเดินลงอาสนะ จากนั้นหลวงปู่เขียวเดินเข้าไปนั่งอาสนะแทนที่ จากนั้นหลวงปู่ผางก้มกราบหลวงปู่เขียวด้วยความเคารพ….ทำให้ชาวบ้านที่มากราบหลวงปู่ผางตกใจ ว่าเกิดอะไรขึ้น คณะที่มาด้วยจึงได้อธิบายให้ทราบจึงได้ร้อง อ๋อ …เป็นแบบนี้นี่เอง….และยังมีหลวงปู่โส กัสสโป วัดป่าคีรีวัน , หลวงปู่วรพรตวิธาน ก็ล้วนต่างนับถือหลวงปู่เขียวไปมาหาสู่บ่อยครั้งเช่นกันครับ ….. ชาตะ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 ท่านเป็นชาวชนบทโดยกำเนิด เป็นบุตรของหลวงประเทศ มารดาชื่อ นางบุญเลี้ยง ประจันตะประเทศธานี มีพี่น้องร่วมกัน 4 คน คือ

1.นายสมบูรณ์ ประจันตะประเทศธานี

2.นางกระกุล ศรีโยธา

3.นางบุญนาค ประจันตะประเทศธานี

4.พระมุนีวรญาณเถร มหานาโม

บรรพชาเป็นสามเณรโดยหลวงตาเพชรได้พาไปบรรพชาที่วัดกวิศราราม ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2458 (อายุ 19 ปี) (มหานิกาย) มีพระอาจารย์มีเป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นจึงได้ขอลาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำตะโก ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดถ้ำตะโก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2459 มีพระอาจารย์กิ่งสุวรรณเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อุ่นเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์ปานเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามว่า พระภิกษุเขียว มหันตปัญโญ หลังจากอุปสมบทแล้วก็จำพรรษาที่วัดถ้ำตะโก 1 พรรษา พระอาจารย์กิ่งสุวรรณได้ชักชวนไปจำพรรษาที่วัดธรรมสังเวช จ.ลพบุรี 3 พรรษา จากนั้นได้ถือโอกาศลาพระอุปัชฌาย์เพื่อออกไปแสวงหาความรู้โดยเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง ขณะอยู่ในกรุงเทพฯได้พักอยู่กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และได้ญัตติเป็นธรรมยุต ณ พัทธสีมาวัดบรมนิวาส ซึ่งมีพระครูอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินัยธรพรหมมาเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอนุสาวนาจารย์ไม่มี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2461 เปลี่ยนนามฉายาว่า “มหานาโม“ หลังจากญัตติเป็นธรรมยุตแล้วได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริญัติธรรมอยู่ที่วัดบรมฯ 3 พรรษา จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง ปี พ.ศ. 2463 และได้ขอลาพระอุปัชฌาย์ไปอยู่กับท่านพระครูศรีจันทร์คุณที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ ได้ศึกษาปริญัติธรรมและบาลี จนสอบได้นักธรรมชั้นโทในสนามหลวง และระหว่างที่อยู่เมืองหลวงนั้นหลวงปู่เขียวก็ได้สนทนาธรรมกับเกจิอาจารย์หลายรูป เช่น พระมหาวีรวงศ์ (ดิสโส อ้วน) , หลวงปู่แหวน สุจินโณ , หลวงปู่ตื้อ อาจลธัมโม ซึ่งเป็นสหธรรมมิก สมเด็จสังฆราช (จวน) และช่วงท่านยังหนุ่มแน่นท่านจะเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอ



.....สมณศักดิ์.....

- พระใบฎีกาเขียว มหานาโม 10 มีนาคม 2464

- พระวินัยธรเขียว มหานาโม เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2473

- พระครูธรรมประเวที เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2477

- พระมุนีวรานุวัตร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2501

- พระมุนีวรญาณเถร เมื่อวันที่ 5 ธันาคม 2515

24 สิงหาคม พ.ศ. 2524 หลวงปู่ได้มรณภาพจากศิษย์ยานุศิษย์ไปอย่างอาลัย รวม 66 พรรษา อายุ 86 ปี 6 เดือน
ผู้เข้าชม
927 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
นิวพระเครื่องบัวใหญ่
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
new0807994609
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Muthitaเทพจิระเธียรภูมิ IRstp253someman
tumlawyerจุก พยัคฆ์ดำchaithawatพระดี46jochoLe29Amulet
AmuletMansomphopอี๋ ล็อคเกตdigitalplusบารมีครูบาชัยวงศ์น้อยชัยยันต์
น้ำตาลแดงtermboonPongpasinchathanumaanep8600ว.ศิลป์สยาม
AchiทองธนบุรีErawanmoshy2499fuchoo18Zomlazzali

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1442 คน

เพิ่มข้อมูล

หลวงปู่เขียว วัดศรีบุญเรือง



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
หลวงปู่เขียว วัดศรีบุญเรือง
รายละเอียด
หากเอ่ยถึงผ้าไหมมัดหมี่อันโด่งดัง ต้องนึกถึงอำเภอชนบท หากเอ่ยถึงเกจิดังในอำเภอชนบท ต้องนึกถึงหลวงปู่เขียว วัดศรีบุญเรือง…. วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง อ.ชนบท เป็นวัดเก่าแก่ ถือเป็นเมืองเก่าของจังหวัดขอนแก่น ถ้าอ่านตามประวัติ เจ้าเมืองขอนแก่นส่งส่วยให้เมืองชนบท และชนบทส่งต่อให้โคราชอีกที….ชนบทเป็นเมืองเก่าที่มีโบราณวัตถุเก่าแก่ ตลอดจนเหรียญยอดนิยมอันดับหนึ่งแห่งเมืองขอนแก่น ก็จัดสร้างที่อำเภอชนบทแห่งนี้ และเป็นแหล่งสร้างวัตถุมงคลหลายรุ่นครับที่ได้รับความนิยมจวบจนถึงปัจจุบัน….วันเวลาล่วงเลยผ่านไป ถนนมิตรภาพตัดผ่าน อ.บ้านไผ่ ทางรถไฟต่าง ๆ เมืองชนบทเลยเป็นเมืองตกอับตามเส้นทางคมนาคม ตามยุคสมัย....

..... เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ.... หลายท่านสงสัยว่าหลวงปู่เขียวพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นใคร ? ...

..... ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์และอาจารย์ของพระเกจิอาจารย์หลายรูปและอยู่เบื้องหลังของพระเกจิจารเก่ง ๆหลายท่านครับ อาทิ เช่น หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ แห่งวัดป่าคุ้มจัดสรร อ.บ้านไผ่ , พระครูโอภาสสมณกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมวิเวก อ.ชนบท (ผู้ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อผาง คงเค คอติ่ง รุ่นแรก อันโด่งดัง) , หลวงปู่ชม ปภัสโร อ.โนนศิลา , หลวงปู่บุญมา วัดป่าภูหันบรรพต , หลวงปู่แสวง วัดป่าชัยวารินทร์ อ.บ้านไผ่ , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย วัดบ้านขุมดิน , พระครูนิวิฐสมณวัตร (หลวงพ่อนงค์ )เจ้าอาวาสวัดอุดมคงคาคีรีเขต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน, พระอธิการวีระสังจิตโต (หลวงตาหลี) วัดป่าหนองไผ่เทพนิมิต บ้านท่าสวรรค์ ฯลฯ ....ที่กล่าวมาล้วนแต่อุปัชฌาย์กับหลวงปู่เขียวทั้งสิ้น …

….สำหรับ หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต(ดูน) สมัยก่อนหลวงพ่อผางท่านธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านแท่นบรรลังทิพย์ เดินทางผ่านในตัว อ.ชนบท เข้ามากราบหลวงปู่เขียวบ่อยครั้ง จนชาวชนบทหลายท่านเข้าใจผิดว่าหลวงปู่เขียวก็เป็นพระองค์อุปัชฌาย์ให้กับหลวงปู่ผางด้วย….อันที่จริงแล้วไม่ใช่ครับ (ข้อมูลนี้ผมสอบถามจาก”ลุงเปี๊ยก” ขออนุญาตที่เอ่ยนาม ซึ่งท่านเป็นศิษย์ผู้รับใช้หลวงปู่มาตั้งแต่เด็กจนโตและอีกท่าน”อาจารย์ ถวิล ” ขออนุญาตที่เอ่ยนาม บ้านอยู่ติดวัดท่านเกิดและโตที่นี่และสมัยนั้นท่านก็โดนหลวงปู่เขียวอบรมสั่งสอนอยู่เป็นประจำ ปัจจุบันทั้งสองท่านยังมีชีวิตอยู่ครับ)….หลวงปู่ผางนับถือหลวงปู่เขียวด้วยเป็นพระในปกครองและอายุพรรษาที่คงการนาน(คงแก่เรียน)และถือเป็นครูบาอาจารย์ เดินทางไปมาหาสู่บ่อยครั้งและหลวงปู่เขียวก็เอ็นดูหลวงปู่ผางเป็นพิเศษ….มีครั้งหนึ่งคณะจาก อ.ชนบทได้ขับรถพาหลวงปู่เขียวไปเยี่ยมงานสงค์ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) พอไปถึงหลวงปู่ผางนั่งอยู่บนอาสนะและได้ลุกเดินลงอาสนะ จากนั้นหลวงปู่เขียวเดินเข้าไปนั่งอาสนะแทนที่ จากนั้นหลวงปู่ผางก้มกราบหลวงปู่เขียวด้วยความเคารพ….ทำให้ชาวบ้านที่มากราบหลวงปู่ผางตกใจ ว่าเกิดอะไรขึ้น คณะที่มาด้วยจึงได้อธิบายให้ทราบจึงได้ร้อง อ๋อ …เป็นแบบนี้นี่เอง….และยังมีหลวงปู่โส กัสสโป วัดป่าคีรีวัน , หลวงปู่วรพรตวิธาน ก็ล้วนต่างนับถือหลวงปู่เขียวไปมาหาสู่บ่อยครั้งเช่นกันครับ ….. ชาตะ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 ท่านเป็นชาวชนบทโดยกำเนิด เป็นบุตรของหลวงประเทศ มารดาชื่อ นางบุญเลี้ยง ประจันตะประเทศธานี มีพี่น้องร่วมกัน 4 คน คือ

1.นายสมบูรณ์ ประจันตะประเทศธานี

2.นางกระกุล ศรีโยธา

3.นางบุญนาค ประจันตะประเทศธานี

4.พระมุนีวรญาณเถร มหานาโม

บรรพชาเป็นสามเณรโดยหลวงตาเพชรได้พาไปบรรพชาที่วัดกวิศราราม ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2458 (อายุ 19 ปี) (มหานิกาย) มีพระอาจารย์มีเป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นจึงได้ขอลาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำตะโก ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดถ้ำตะโก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2459 มีพระอาจารย์กิ่งสุวรรณเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อุ่นเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์ปานเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามว่า พระภิกษุเขียว มหันตปัญโญ หลังจากอุปสมบทแล้วก็จำพรรษาที่วัดถ้ำตะโก 1 พรรษา พระอาจารย์กิ่งสุวรรณได้ชักชวนไปจำพรรษาที่วัดธรรมสังเวช จ.ลพบุรี 3 พรรษา จากนั้นได้ถือโอกาศลาพระอุปัชฌาย์เพื่อออกไปแสวงหาความรู้โดยเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง ขณะอยู่ในกรุงเทพฯได้พักอยู่กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และได้ญัตติเป็นธรรมยุต ณ พัทธสีมาวัดบรมนิวาส ซึ่งมีพระครูอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินัยธรพรหมมาเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอนุสาวนาจารย์ไม่มี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2461 เปลี่ยนนามฉายาว่า “มหานาโม“ หลังจากญัตติเป็นธรรมยุตแล้วได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริญัติธรรมอยู่ที่วัดบรมฯ 3 พรรษา จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง ปี พ.ศ. 2463 และได้ขอลาพระอุปัชฌาย์ไปอยู่กับท่านพระครูศรีจันทร์คุณที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ ได้ศึกษาปริญัติธรรมและบาลี จนสอบได้นักธรรมชั้นโทในสนามหลวง และระหว่างที่อยู่เมืองหลวงนั้นหลวงปู่เขียวก็ได้สนทนาธรรมกับเกจิอาจารย์หลายรูป เช่น พระมหาวีรวงศ์ (ดิสโส อ้วน) , หลวงปู่แหวน สุจินโณ , หลวงปู่ตื้อ อาจลธัมโม ซึ่งเป็นสหธรรมมิก สมเด็จสังฆราช (จวน) และช่วงท่านยังหนุ่มแน่นท่านจะเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอ



.....สมณศักดิ์.....

- พระใบฎีกาเขียว มหานาโม 10 มีนาคม 2464

- พระวินัยธรเขียว มหานาโม เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2473

- พระครูธรรมประเวที เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2477

- พระมุนีวรานุวัตร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2501

- พระมุนีวรญาณเถร เมื่อวันที่ 5 ธันาคม 2515

24 สิงหาคม พ.ศ. 2524 หลวงปู่ได้มรณภาพจากศิษย์ยานุศิษย์ไปอย่างอาลัย รวม 66 พรรษา อายุ 86 ปี 6 เดือน
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
964 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
นิวพระเครื่องบัวใหญ่
URL
เบอร์โทรศัพท์
0807994609
ID LINE
new0807994609
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี